ดอยคำจับมือกระทรวงอุดมศึกษาฯ จัดตั้งศูนย์ประสานงาน “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล” โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตําบล  ณ โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 3 (เต่างอย) จังหวัดสกลนคร

ดอยคำจับมือกระทรวงอุดมศึกษาฯ จัดตั้งศูนย์ประสานงาน “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล” โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตําบล ณ โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 3 (เต่างอย) จังหวัดสกลนคร

โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๑ (ฝาง) จังหวัดเชียงใหม่ มอบน้ำดื่มสนับสนุนกิจกรรมทำแนวป้องกันไฟป่าในพื้นที่ตำบลแม่งอน

โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๑ (ฝาง) จังหวัดเชียงใหม่ มอบน้ำดื่มสนับสนุนกิจกรรมทำแนวป้องกันไฟป่าในพื้นที่ตำบลแม่งอน

เมื่อวันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 เนื่องจากในช่วงหน้าร้อนของทุกปี จะเกิดสถานกาณ์ไฟป่า ส่งผลทำให้เกิดปัญหาหมอกควันและฝุ่นละออกตามมา ชุมชนบ้านยางและหน่วยงานราชการในพื้นที่ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหานี้ จึงได้ร่วมกันจัดกิจกรรมทำแนวป้องกันไฟป่าในพื้นที่ตำบลแม่งอนขึ้น

ทั้งนี้ โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๑ (ฝาง) จังหวัดเชียงใหม่ นำโดย นายคฑาวุธ เลี่ยนเครือ ผู้จัดการโรงงานหลวงฯ ที่ ๑ (ฝาง) จ.เชียงใหม่ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่และพนักงานประจำโรงงานหลวงฯ ได้ร่วมกันทำแนวป้องกันไฟป่า เพื่อป้องกันการลุกลามของไฟป่า ไปยังพื้นที่ต่างๆ ของป่า พร้อมทั้งมอบน้ำดื่มดอยคำ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมในครั้งนี้อีกด้วย

ปัญหาไฟป่า ยังคงเป็นปัญหาระดับประเทศ นำมาสู่ปัญหาวิกฤตหมอกควันในระดับที่รุนแรง รวมถึงก่อให้เกิดปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนในหลายพื้นที่ สาเหตุหลักเกิดมจากการลักลอบเผาป่า

คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดอยคำ ลงนามถวายพระพรสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดอยคำ ลงนามถวายพระพรสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ดอยคำ ชวนร่วมกิจกรรม “แกะ ล้าง เก็บ” ในโครงการสร้างโลกสีเขียว

ดอยคำ ชวนร่วมกิจกรรม “แกะ ล้าง เก็บ” ในโครงการสร้างโลกสีเขียว

“ดอยคำ” ตระหนักถึงปัญหา “ขยะ” เราจึงลงมือแก้ไขอย่างจริงจัง โดยใช้แนวทางแบบ Circular Economy เป็นการหมุนเวียนวัตถุดิบกลับมาใช้ใหม่ เป็นวงจรไม่รู้จบ แทนการผลิต ใช้แล้วทิ้ง เพราะเราเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างขยะ โดยมีเป้าหมายมุ่งสู่สังคมไร้ขยะ (Zero Waste) เพื่อความสุขที่ยั่งยืน (Sustainable Happiness) จึงเป็นที่มาของ โครงการ “รวมพลังสร้างโลกสีเขียว” กิจกรรม แกะ ล้าง เก็บ โดยนำกล่องเครื่องดื่มยูเอชที มาผ่านกระบวนการรีไซเคิล จนกลายเป็น “แผ่นอีโคบอร์ด” นำมาขึ้นรูปแบบเป็น “พาเลทไม้เทียม” กลับมาใช้ในโรงงานหลวงฯ ทั้ง ๓ แห่ง “กรวยจราจร” มอบให้หน่วยงานต่าง ๆ และมอบกล่องน้ำผลไม้พร้อมดื่ม ให้โครงการ “หลังคาเขียว” มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ซึ่งปริมาณกล่องน้ำผลไม้ดอยคำทุก ๑,๐๐๐ กล่อง จะสามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง ๙๐๐ กิโลกรัม และสามารถช่วยเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ ๑๕๐ ตารางเมตร

แหล่งเรียนรู้ “รู้รักษ์พอเพียง” โรงเรียนบ้านยาง อำแภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ หนึ่งในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จากกิจกรรมเดิน วิ่ง ๙ ตามรอยดอยคำ

แหล่งเรียนรู้ “รู้รักษ์พอเพียง” โรงเรียนบ้านยาง อำแภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ หนึ่งในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จากกิจกรรมเดิน วิ่ง ๙ ตามรอยดอยคำ

จากกิจกรรมเดิน วิ่ง ๙ ตามรอยดอยคำเมื่อปี 2561 ที่บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด จัดขึ้นเพื่อประชาสัมพันธ์จุดกำเนิดดอยคำเส้นทาง แห่งพระมหากรุณาธิคุณของพระผู้ให้กำเนิดดอยคำ และมอบรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายแก่สถานการศึกษาและสถานพยาบาลในพื้นที่อำเภอฝาง ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป ที่ 1 (ฝาง) จังหวัดเชียงใหม่ สู่การพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง
โรงเรียนบ้านยาง เป็นหนึ่งในสถานการศึกษาที่ได้รับเงินสนับสนุนจำนวน 100,000.00 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) จากกิจกรรมเดิน วิ่ง ๙ ตามรอยดอยคำ โดยนำมาสร้างแหล่งเรียนรู้ “รู้รักษ์พอเพียง” ภายในโรงเรียนเพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและความยั่งยืนตามพระราชดำริของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๙

ขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชุมชนร่วมกับดอยคำ

“ดอยคำ” ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนกับชุมชนรอบโรงงานหลวงฯ มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

“ดอยคำ” ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนกับชุมชนรอบโรงงานหลวงฯ มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

จากเป้าหมายการมุ่งสู่สังคมไร้ขยะ (Zero Waste) เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) โดยให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสังคมของ บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด
ในฐานะผู้ดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมผลไม้แปรรูป ด้วยการเป็นต้นแบบองค์กรภาคธุรกิจที่ดำเนินกิจการตามศาสตร์แห่งพระราชา ควบคู่ไปกับการมุ่งพัฒนาชุมชน ให้เกิดความเข้มแข็งและมีคุณภาพชีวิตที่ดี อย่างยั่งยืน
ปี 2563 “ดอยคำ” ได้นำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ผ่านการทำกิจกรรม “กฐินดอยคำ ประจำปี 2563” และกิจกรรมผ้าป่าสามัคคี” ภายใต้ “โครงการดอยคำเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ต่อยอดสู่ชุมชน” โดยมีเป้าหมายในการสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องการจัดการขยะ และการนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ให้แก่ชุมชน ที่หมายรวมถึงบ้าน วัด โรงเรียน และโรงงานหลวงฯ
โดยเล็งเห็นว่า ขวดพลาสติก PET (Polyethylene Terephthalate) ซึ่งเป็นที่นิยมในการนำมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม มีปริมาณขยะสูงมาก แต่ขวดพลาสติก PET มีคุณสมบัติที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ 100 เปอร์เซ็นต์